• ชีวิตดีเริ่มต้นที่...เช็กสุขภาพการเงิน

โดยปกติแล้วเรามักจะมีการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่ทุก ๆ ปี เพื่อตรวจสอบร่างกายของตัวเราว่ามีตรงไหนเจ็บป่วย หรือไม่สบายตรงไหน จะได้หาวิธีรักษาดูแลสุขภาพได้ทันเวลา แต่หลายคนมักจะมองข้ามความสำคัญของ “การตรวจสุขภาพทางการเงิน” ซึ่งการตรวจสุขภาพทางการเงินก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราทราบถึงสถานการณ์ทางการเงิน พฤติกรรมการใช้เงิน มุมมอง ความคิด ทัศนคติที่มีต่อการเงินของเรา และสามารถหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อทำให้สุขภาพการเงินของเรานั้นแข็งแรงขึ้นมาได้


โดยเราสามารถเข้าไปตรวจสอบสุขภาพทางการเงินผ่านแบบทดสอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ที่ลิงก์ดังต่อไปนี้ >>https://bit.ly/4a8Qlik 


ผลลัพธ์สุขภาพทางการเงินของแต่ละบุคคลก็มักจะแตกต่างกัน ตามปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ ที่มาของรายได้ การใช้จ่าย พฤติกรรมการออมเงิน ภาระค่าใช้จ่าย รวมไปถึงทัศนคติที่มีต่อการใช้เงิน และเป้าหมายวัตถุประสงค์ทางการเงินการลงทุน ซึ่งผลลัพธ์การตรวจสุขภาพทางการเงินจากแบบทดสอบดังกล่าวจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่



ผลการตรวจสุขภาพทางการเงิน


ระดับอ่อนแอ: มีหลายสัญญาณที่บ่งบอกว่าสุขภาพการเงินของเราอยู่ในระดับอ่อนแอ ทั้งค่าใช้จ่ายรายเดือนสูงกว่ารายรับ พฤติกรรมการใช้จ่าย ทัศนคติในการซื้อของ การบริหารจัดการเงินไม่ดี ไม่มีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และมีอัตราผ่อนชำระหนี้สินสูงมากเมื่อเทียบกับรายรับที่หามาได้ รวมไปถึงการผ่อนชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ และความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หากเรามีผลตรวจสุขภาพการเงินในระดับนี้ เป็นระดับที่อันตรายไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ต้องหาวิธีที่ช่วยเพิ่มรายได้ หรือ พิจารณาการใช้จ่ายเลือกซื้อเฉพาะตามความจำเป็น และบริหารหนี้สินให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ก็จะช่วยทำให้สุขภาพการเงินของเราอยู่ในระดับที่ดีขึ้นมาได้


ระดับปานกลาง: เป็นระดับอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป สามารถบริหารจัดการรายรับ-รายจ่ายได้อย่างสมดุล ไม่มีหนี้สินที่มากเกินความสามารถในการผ่อนชำระ แนะนำให้พยายามควบคุมรายรับ-รายจ่ายทำให้เกิดเป็นนิสัยอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังการใช้จ่ายเกินความจำเป็น ก็จะทำให้เราสามารถเพิ่มจำนวนเงินออม จนสามารถนำเงินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และลงทุนให้เงินงอกเงยต่อไปได้


ระดับดีมาก: หากผลตรวจสุขภาพการเงินอยู่ในระดับนี้ บ่งบอกได้ถึงว่าเราเป็นคนที่สามารถบริหารการเงินได้ดีมาก มีการวางแผนการเงินอย่างมีเป้าหมายใช้ได้จริง ตลอดจนสามารถนำเงินที่หามาได้ไปเก็บออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หรือ มีระดับเงินออมที่สามารถนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ทางการเงินที่ต้องการได้ หากมีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอก็จะยิ่งช่วยให้รักษาระดับสุขภาพทางการเงินระดับดีมากนี้ไว้ได้อย่างยาวนาน พร้อมทั้งศึกษาหาความรู้เรื่องการออมและการลงทุนเพิ่ม ก็จะช่วยทำให้เราสำเร็จเป้าหมายทางการเงินได้เร็วยิ่งขึ้น


นอกจากนี้ลักษณะของการมีสุขภาพการเงินที่ดี ยังสามารถใช้ข้อมูลทางการเงินที่เรามีอยู่ นำมาหาอัตราส่วนเพื่อวัดผลตรวจสุขภาพทางการเงินผ่าน “สูตรเอกซเรย์สุขภาพทางการเงิน” ได้ดังนี้



ซึ่งเมื่อเราทราบถึงผลตรวจสุขภาพการเงินของตัวเราเองแล้ว เราก็คงอยากมีวิธีที่ช่วยดูแลสุขภาพการเงินของเราให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น โดยสุขภาพทางการเงินที่ดีสามารถใช้แนวคิดและวิธีดังต่อไปนี้ เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต และสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินของเราได้


1.มีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน : จะเป็นอันดับแรกที่จะช่วยปรับเปลี่ยนแนวคิด ความตั้งใจ รวมไปถึงพฤติกรรมทางการเงินให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น อาจจะเริ่มต้นจากเป้าหมายระยะสั้นทำได้ง่าย ๆ แล้วค่อย ๆ ปรับเป็นเป้าหมายทางการเงินระยะปานกลาง ไปจนถึงเป้าหมายระยะยาว และควรหมั่นตรวจสอบเป้าหมายทางการเงินที่เราตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ ว่ายังคงสอดคล้องกับความต้องการของเราที่ตั้งใจไว้หรือไม่


2.บันทึกรายรับ-รายจ่าย : เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลรายจ่ายที่ใช้ในแต่ละวัน ซึ่งจะทำให้เรารู้ทั้งพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเอง และสามารถนำมาพิจารณาตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ โดยในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากมายที่ทำให้เรื่องการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน


3.ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย : เลือกใช้จ่ายไปกับสิ่งของ บริการ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต คุ้มค่าแก่การซื้อ หรือหากต้องการใช้จ่ายเพื่อความสุขหรือให้รางวัลตัวเองจริง ๆ ก็ควรมีการวางแผนจัดสรรเงินส่วนนั้นไว้ใช้โดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพคล่องทางการเงินของค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแต่ละเดือน 


4.มีความตั้งใจในการเก็บออม : การมีสุขภาพการเงินที่ดี สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ “การมีเงินเก็บออม” เพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ทั้งเป้าหมายการออมระยะ สั้น กลาง ยาว ตลอดจนเก็บออมเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน หากทั้งสามารถบริหารจัดการรายจ่ายเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็จะทำให้บรรลุเป้าหมายการออมนั้นได้ไวยิ่งขึ้น


5.มีเงินสำรองฉุกเฉิน : ควรแบ่งเงินเก็บสำรองไว้ประมาณ 3 - 6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำเดือน เพราะการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเป็นไปด้วยความไม่แน่นอน เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด หรือมีความจำเป็นที่ต้องการใช้เงินฉุกเฉินเมื่อไหร่ การแบ่งเงินส่วนหนึ่งเพื่อสำรองไว้ใช้จึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นจริง ๆ จะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพการเงินมากนัก


6.หาทางเพิ่มรายได้ : ใช้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ หรือแม้แต่ความชอบที่มีอยู่ในตัวเองมาทำให้เกิดประโยชน์ ตามความเหมาะสมและเวลาที่เราสามารถจัดการได้ หรือนอกจากนี้ก็ยังมีวิธีหารายได้แบบ “Passive Incom” อยู่หลากหลายวิธีที่จะสามารถนำเงินไปเป็นต้นทุนต่อยอดให้เงินทำงาน และงอกเงยขึ้นมาได้


7.บริหารจัดการหนี้สิน : อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ก็คือ การมีหนี้สินมากเกินความจำเป็น ดังนั้นหากเรามีหนี้สินในจำนวนมาก ควรพิจารณาหาทางผ่อนชำระหนี้เสียที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ ก่อน พยายามไม่ก่อหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก และเมื่อเรามีความสามารถในการชำระหนี้ได้ทั้งหมดในวันใดแล้ว ก็จะสามารถนำเงินส่วนนั้นมาใช้ประโยชน์ เก็บออม หรือลงทุนให้เงินเติบโตขึ้นได้


8.ลงทุนคือทางรอด : ความสำคัญของสุขภาพการเงินไม่ใช่ความร่ำรวย แต่เป็นการมีความมั่นคงทางการเงิน การลงทุนจึงเปรียบเสมือนการออกกำลังกาย ที่จะทำให้สุขภาพการเงินของเราแข็งแรง และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพการเงินของเราได้ ซึ่งการลงทุนเป็นสิ่งที่สามารถทำไปพร้อม ๆ กับการเก็บออมได้ เพราะการมีสุขภาพการเงินที่ดีนั่นคือการไม่มีปัญหาทางการเงินที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการดำเนินชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีแผนการจัดการ การเงินอย่างเรียบง่ายและใช้ได้ผลจริง


ซึ่งหนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจและได้รับความนิยมก็คือ “การลงทุนในหุ้น” เพราะเป็นการลงเงินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของกิจการ ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เงินปันผล และส่วนต่างราคาจากการซื้อ-ขายหุ้น จะเลือกลงทุนอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ไลฟ์สไตล์ และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละบุคคล


มาดูแลสุขภาพทางการเงินผ่านการลงทุนก่อนจะสาย เลือกลงทุนในหุ้นกับโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ได้รับการรับรองจาก ก.ล.ต. เลือกเปิดบัญชีเทรดหุ้นกับ บล. Zcom นักลงทุนสามารถลงทุนด้วยค่าคอมมิชชันที่ถูกมาก เพียง 0.065%* ไม่มีค่าคอมฯ ขั้นต่ำ เริ่มต้นลงทุนเพื่อดูแลสุขภาพการเงินให้แข็งแรงเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ในอนาคต




เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ คลิก




หมายเหตุ: 

*อัตรานี้ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมอื่น ๆ

**การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน




ที่มา:

ธนาคารแห่งประเทศไทย. Financial Health Check จุดเริ่มต้นของความยั่งยืนทางการเงินส่วนบุคคล, https://bit.ly/3TFY69Z 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สูตรเอกซเรย์สุขภาพทางการเงิน, https://bit.ly/3Tk8LWf 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 7 เคล็ดลับ เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี, https://bit.ly/3IGI21e 

THE STANDARD PODCAST. 4 คำถาม เช็กสุขภาพทางการเงินตลอดทั้งปี,https://bit.ly/48Y2rtm