-
จะเทรดให้ดี ต้องมีระบบ
นักเทรดมือใหม่บางคนอาจจะท้อกับการเล่นหุ้น เพราะขาดทุน บางครั้งข้อผิดพลาดในการเทรดอาจมาจากความคิดที่ไม่เป็นระบบ หรือ ไม่มีแบบแผนมากพอ บางคนอาจเทรดตามกูรูต่างๆ แต่ไม่เข้าใจคอนเซป หรือไม่มีวิธีคิดของตนเอง ซึ่งทำให้ไม่มีทางทราบได้เลยว่าข้อผิดพลาดในการเทรดของคุณคืออะไร ข้อเสียของตนเองคืออะไร และจริงๆปัญหาของการขาดทุนเกิดจากอะไร เพราะไม่ใช่ทุกปัญหาที่จะสามารถเสิร์ชกูเกิลได้ บทความนี้จึงอยากเสนอการคิดแบบเป็นระบบเพื่อช่วยให้คุณเทรดได้ดีขึ้น ซึ่งข้อดีของการมีวิธีการจัดการความคิดอย่างเป็นระบบมีดังนี้
- ช่วยลดความผิดพลาด เมื่อมองปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ ในมุมมองที่เป็นระบบ จะช่วยลดความผิดพลาดเพราะมีการมองปัญหาอย่างละเอียดและพิจารณาการแก้ไขปัญหาที่แม่นยำกว่าการที่ไม่มีระบบทางความคิด
- ช่วยให้เข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาได้ง่ายขึ้น: การแบ่งปัญหาหรือสถานการณ์ออกเป็นส่วนย่อยๆ และต่อเนื่องกันอย่างมีระบบ จะช่วยให้เราเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะเห็นภาพรวมและรายละเอียดต่าง ๆ ของปัญหาเหล่านั้น
- เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา: เมื่อเรามีการคิดเป็นระบบ จะช่วยให้เราวางแผนการแก้ไขปัญหาได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากเราจะสามารถเรียงลำดับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ทำให้คุณสามารถพัฒนาทักษะความคิดจนเป็นอัตโนมัติ เมื่อสถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น จะทำให้คิดเร็ว รอบด้านรอบคอบ และมีการจัดการได้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้นจึงควรฝึกคิดให้เป็นระบบ เพราะในตลาดหุ้นคุณไม่รู้เลยว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในแต่ละวัน การมีระบบการจัดการความคิดที่ดีจะทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายและแก้ปัญหาได้ดีขึ้น แต่การคิดเป็นระบบที่ดีก็ต้องมีความยืดหยุ่นด้วยเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาดและพร้อมที่จะตั้งรับกับ Market Sentiments ที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคต
วิธีฝึกการคิดแบบเป็นระบบเพื่อการเทรด เริ่มได้ดังนี้
วางแผนและตั้งเป้าหมาย: ก่อนที่จะเริ่มเทรด ควรมีการวางแผนและการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการทำกำไรเท่าไหร่ จะสามารถลดความเสี่ยงในการเทรดได้อย่างไร และกำหนดว่าจะใช้กลยุทธ์การเทรดชนิดใด
วิเคราะห์ตลาด: การวิเคราะห์ตลาดเป็นสิ่งสำคัญในการเทรด ควรทำการวิเคราะห์ตลาด หาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพตลาดและโอกาสในการซื้อขาย
จัดการเงิน: การจัดการเงินก็เป็นสิ่งสำคัญในการเทรด ควรมีการวางแผนการจัดการเงินให้เหมาะสม และมีการกำหนดขนาดของการซื้อขายในแต่ละรอบเทรดเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงทำการตั้งจุด Stop Loss เพื่อลดโอกาสในการขาดทุน
ตรวจสอบและประเมินผล: หลังจากที่ทำการซื้อขายเสร็จสิ้นแล้ว ควรมีการตรวจสอบและประเมินผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และจะต้องปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดหรือเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ในกรณีที่ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่คาดหวัง
นอกจากนี้ การคัดกรองหุ้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากหุ้นไทยมีมากกว่า 800+ ตัว แต่ก็ไม่ใช่ทุกตัวที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้ ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการคัดกรองหุ้นอย่างเป็นระบบเพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อขายด้วย อย่างแรกคุณควรค้นหาความต้องการของตนเองให้ชัดเจน ว่าต้องการหุ้นแบบไหน เช่น หุ้น Value หุ้น Growth หรือหุ้น Momentum ศึกษาบริษัทที่จะลงทุนให้เหมือนกับเวลาเราจะนำเงินไปลงทุนธุรกิจใดธุรกิจนึง คอยหมั่นประเมินความเสี่ยงของธุรกิจอยู่เสมอ รวมถึง ประเมินราคาหุ้น จากค่า P/E (Price / Earning Per Share) หรืออัตราส่วนราคาต่อกำไร และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการประเมินอนาคตของหุ้น เพราะมูลค่าหุ้นมาพร้อมกับโอกาสที่จะเกิดขึ้น ต้องใช้เวลาเรียนรู้ มองภาพในอนาคตของบริษัทให้ออก สามารถอ่านวิธีการคัดหุ้นแบบละเอียดได้ใน How To คัดหุ้นเด่น เลือกหุ้นดีเข้าพอร์ต
อย่างที่บอกไป การคัดหุ้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งของคุณได้ในอนาคต ในปัจจุบันมีกลยุทธ์มากมายที่จะส่งเสริมการคัดหุ้นของคุณให้มีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งหลักการที่เราจะนำเสนอในบทความนี้ เป็นหลักการที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย นั่นคือ CAN SLIM ที่คิดค้นโดย William J. O’Neil เป็นหลักการที่ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการวิเคราะห์กราฟเทคนิค มาผสมกันเพื่อคัดกรองหุ้นที่มีผลประกอบการดี อัตราการเติบโตต่อเนื่อง และมีการเคลื่อนไหวของราคาแข็งแกร่งกว่าตลาด ซึ่งประกอบไปด้วยการดูปัจจัยเหล่านี้
C : Current Quarterly Earnings (กำไรสุทธิไตรมาสล่าสุด)
ผลกำไรในไตรมาสล่าสุดเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่จะไม่เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เพราะมี High-Low Season ของธุรกิจที่ต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งหุ้นที่ผ่านเกณฑ์จะต้องมีกำไรต่อหุ้น (Earning per Share) เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20-25% (ยิ่งสูงก็ยิ่งดี) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว(YOY) รวมถึงควรพิจารณาการเติบโตของยอดขายด้วย
A : Annual Earnings Increases (กำไรสุทธิปีล่าสุด)
ผลประกอบการประจำปีมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและสม่ำเสมอ โดยจะต้องมีกำไรปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 - 5 ปี และควรสอดคล้องกับรายได้ที่มั่นคงมีเสถียรภาพ ถ้าหากไม่ได้มีกำไรอย่างน้อยๆ ก็ควรมีการขาดทุนที่ลดลงเรื่อยๆ จนเป็นบวก และอีกประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามคือ ROE ควรมากกว่า 15%
N: New Product , New Management , New Highs (การมีผลิตภัณฑ์ใหม่,ทีมบริหารใหม่ หรือราคาสูงสุดใหม่)
มองหาบริษัทที่มีปัจจัยการเติบโตใหม่ ๆ เช่น มีแผนออกสินค้าหรือบริการใหม่, พัฒนา Business Model ใหม่, เปลี่ยนทีมผู้บริหารใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากสามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น จะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ราคาหุ้นมีโอกาสทำจุดสูงสุดใหม่ (New High) ได้ด้วย
S : Supply and Demand of Shares (อุปสงค์และอุปทานของหุ้น)
ต้องเป็นหุ้นที่ปริมาณการซื้อขายที่คึกคัก เพราะแสดงให้เห็นว่ามีคนสนใจเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องเป็นหุ้นที่มีจำนวนการขายที่จำกัดด้วย มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) ที่ต่ำ หรือเป็นบริษัทที่มีนโยบายรับซื้อหุ้นคืน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะได้ทำให้ราคาหุ้นสามารถขยับขึ้นได้ง่ายนั่นเอง
L : Leader or Laggard (ผู้นำหรือผู้ตาม)
หุ้นในบริษัทนั้นต้องเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมธุรกิจที่ตัวเองทำ มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 โดยวิธีที่ O’Neil เลือกใช้คือ การดูจากค่า Relative Strength ที่สูง หรือเรียกง่ายๆว่า ค่า RSI เป็นหุ้นที่ราคาขึ้นเร็วกว่าตลาด และราคาปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดโดยรวม สะท้อนให้เห็นว่าเป็นหุ้นที่มีความต้องการซื้อมากกว่าต้องการขาย ควรเลือกจากหุ้นที่ดีที่สุด TOP 3 ในอุตสาหกรรมนั้นๆ
I : Institution Sponsorship (หุ้นที่กลุ่มสถาบันสนใจที่จะลงทุน)
หุ้นที่ถูกนักลงทุนสถาบันหรือรายใหญ่เข้าไปถือครอง เป็นตัวสะท้อนความแข็งแกร่งทางธุรกิจ รวมถึงมีโอกาสที่ราคาจะขยับตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็ไม่ควรมีสัดส่วนของนักลงทุนสถาบันมากจนเกินไป เพราะอาจเสี่ยงต่อแรงขายที่รุนแรงได้เช่นกัน รวมถึงควรเป็นหุ้นในกลุ่ม SET50 หรือ SET100
M : Market Direction (ทิศทางการตลาด)
ควรเลือกจังหวะเข้าลงทุนในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น (Up trend) โดยพิจารณาจากแนวโน้มกราฟแท่งเทียนและเส้นค่าเฉลี่ยของตลาดในช่วงนั้น ๆ และควรหลีกเลี่ยงการขาดทุนจํานวนมากโดยใช้คําสั่ง Stop Loss ตั้งในจุดที่เราต้องการขายจากการวางแผนตั้งแต่ตอนแรก
ถ้าคุณอ่านบทความถึงตรงนี้แล้วอาจจะคิดว่าการคัดกรองหุ้นให้เป็นไปตามหลัก CAN SLIM นั้นยาก แต่ก็พอมีตัวช่วยอยู่ใน Streaming ฟังก์ชัน Stock Screener
ขั้นตอนการหาหุ้นแบบ CAN SLIM ง่ายๆ ด้วย Streaming
- เข้า Streaming
- คลิก My Menu
- เลือก Stock Sceener
- เลือก Quick Screen
- กด CAN SLIM
- เลือกเงื่อนไขที่ต้องการ ปรับเงื่อนไขต่างๆ จากนั้นกด Save
- จะพบหุ้นที่เป็นไปตามการคัดหุ้นแบบ CAN SLIM แล้วสามารถเลือกลงทุนเพื่อทำการซื้อได้เลย
สิทธิพิเศษของลูกค้า บล. Zcom เลือกใช้ Streaming ได้ทุกฟังก์ชัน
ศึกษารายละเอียดและวิธีการใช้งาน Streaming คลิก
เปิดพอร์ตหุ้นเพื่อรับสิทธิพิเศษมากมาย
*การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
ที่มา
สูตรคัดหุ้นโตต่อเนื่อง ด้วยแนวคิด CANSLIM, bit.ly/432xIJ3
การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) ทักษะสำคัญที่ต้องพัฒนา ,bit.ly/3oba26I
ใครกำลังหางานลองฝึก! ทักษะ “การคิดเชิงโครงสร้าง” เพิ่มโอกาสการได้งานในยุคนี้, bit.ly/3M7UnwV
เหตุใดระบบการลงทุนของคุณจึงควรจะง่ายเข้าไว้?, bit.ly/3pC8Zgf
Stock Screener, bit.ly/3o5e6Fx
หนังสือ How to Make Money in Stocks